Sunday, September 30, 2007

จรรยาบรรณทางการแพทย์
จรรยาบรรณแพทย์ (medical ethics) เป็นส่วนหนึ่งของจริยศาสตร์ประยุกต์ (applied ethics) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาจริยศาสตร์ (Ethics) ในวิชาปรัชญา (Philosophy) วิชานี้นำเสนอวิธีปฏิบัติบนพื้นฐานหลักจริยธรรมว่าแพทย์และพยาบาลควรปฏิบัติต่อคนใข้อย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม แต่ละประเทศก็จะมีองค์ความรู้ในสาขานี้แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง องค์ความรู้ที่ตกผลึกในสังคมตะวันตกนั้น ได้แนะนำให้ผู้อยู่ในสาขาแพทย์และพยาบาลปฏิบัติต่อผู้ป่วยดังต่อไปนี้
นอกจากหลักปฏิบัติเหล่านี้แล้ว ผู้บรรยายวิชานี้ จะนำองค์ความรู้จากศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เห็นว่าคล้ายคลึงหรือแตกต่างจากองค์ความรู้ในประเทศตะวันตกอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุดจากการดูแลรักษาของแพทย์และพยาบาล

เน้นประโยชน์ผู้ป่วยสูงสุด (beneficence)
สิ่งที่จะทำต้องเน้นไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายใดๆ เพิ่มขึ้น (Non-maleficence)
ผู้ป่วยมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะรู้สาเหตุและอาการป่วยของตัวเองและเลือกวิธีรักษาตามความเหมาะสม (Autonomy)
การรักษาต้องอาศัยความบริสุทธิ์ยุติธรรมไปตามสมุฏฐานโรคของผู้ป่วยแต่ละคนอย่างแท้จริง (Justice)
ทั้งผู้รักษาหรือผู้ดูแลพยาบาลและคนไข้ต่างมีเกียรติและสมควรได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างมีเกียรติ (dignity)
แพทย์และพยาบาลต้องไม่ปิดอาการป่วยต่อผู้ป่วย และควรให้ผู้ป่วยรับรู้ความหนักเบาของอาการป่วยตามความจริง แต่ทั้งนี้ ต้องดูความเหมาะสมอย่างอื่นประกอบ เช่น สภาพจิตผู้ป่วยด้วย (Truthfulness and Honesty)

Saturday, September 29, 2007

ค.ศ. 262
พุทธศักราช 805 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 262 - มีนาคม ค.ศ. 263
มหาศักราช 184 วันเกิด

Friday, September 28, 2007

ประวัติ

Bad Guy
Way's To Avoid The Sun
It's Raining
Rain's World เรน (นักร้อง) อัลบั้ม

พ.ศ. 2545 Orange (오렌지)
พ.ศ. 2546 Sang Doo! Let's Go To School (상두야 학교가자!)
พ.ศ. 2547 Full House (풀하우스)
พ.ศ. 2548 A Love To Kill (이 죽일놈의 사랑) ภาพยนตร์

ดัชมิลล์ พรีเซ้นท์ส เรนส์ คัมมิ่ง เวิลด์ ทัวร์ อิน แบงค็อก 2007 - อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี

Thursday, September 27, 2007

ซาราธุสตราซาราธุสตรา
ซาราธุสตรา คือพระศาสดาแห่งศาสนาโซโรอัสเตอร์ มีบุตร 6 คน เป็นชาย 3 หญิง 3 เกิดแต่ภรรยา 3 คน สิ้นชีพเมื่ออายุ 77 ปี จากการลอบสังหารในขณะที่ทำพิธีกรรม

Wednesday, September 26, 2007

โค
วัว หรือ โค อยู่ในพวกสัตว์บกประเภทเป็นสัตว์เลี้ยง ตัวขนาดเท่าควาย แต่เขาสั้น คนเลี้ยงวัวเพื่อกินเนื้อ และ นม บางทีก็ใช้เทียมเกวียน

Tuesday, September 25, 2007

หมอลำซิ่ง
หมอลำ เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเพลิน ลำซิ่ง รวมทั้ง ลำตัดในภาคกลางก็จัดได้ว่าเป็นหมอลำประเภทหนึ่ง
คำว่า "หมอลำ" มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ "หมอ" หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ "ลำ" หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง

Monday, September 24, 2007

.om
บทความนี้ใช้ชื่อที่ใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม
.om เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศโอมาน

Sunday, September 23, 2007

ฟุตบอลยูโร
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (European Football Championship) หรือเรียกกันว่า ฟุตบอลยูโร เป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการหลัก ของประเทศในทวีปยุโรป จัดขึ้นทุก 4 ปี โดยจะห่างจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 ปี เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960)
ในช่วงเริ่มต้นมีประเทศร่วมแข่งขันเพียง 4 ประเทศ และในปี พ.ศ. 2523 มีเพิ่มเป็น 8 ทีม และในปี พ.ศ. 2539 ได้เพิ่มจำนวนเป็น 16 ทีม
เริ่มต้นใน ฟุตบอลยูโร 1984 ได้ยกเลิกการชิงที่สาม

Saturday, September 22, 2007

เอฟทีพี
DHCPDNSFTPGopherHTTPIMAP4IRCNNTPXMPPMIMEPOP3SIPSMTPSNMPSSHTELNETRPCRTPRTCPTLS/SSLSDPSOAP
TCPUDPDCCPSCTPGTP
IP (IPv4IPv6) • IGMPICMPRSVPBGPRIPOSPFISISIPsecARPRARP
802.11ATMDTMEthernetFDDIFrame RelayGPRSEVDOHSPAHDLCPPPL2TPPPTP
Ethernet physical layerISDNModems • PLCSONET/SDHG.709WiMAX
เอฟทีพี (File Transfer Protocol:FTP) คือ รูปแบบการส่งไฟล์ (send file) หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า Client กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า โฮสติง หรือ เซิร์ฟเวอร์ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน
โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม Cute FTP หรือ WS FTP ในการติดต่อ เป็นต้น
เอฟทีพี

Friday, September 21, 2007


สโมสรฟุตบอลมิดเดิลสโบรช์ เป็นสโมสรฟุตบอลในอังกฤษ ปัจจุบันเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีก


อาร์เซนอล | แอสตันวิลลา| เบอร์มิงแฮม ซิตี้ | แบล็กเบิร์นโรเวอร์ส | โบลตันวันเดอเรอร์ส | เชลซี | ดาร์บี้ เคาน์ตี้ | เอฟเวอร์ตัน | ฟูแลม | ลิเวอร์พูล | แมนเชสเตอร์ซิตี | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | มิดเดิลสโบรช์ | นิวคาสเซิลยูไนเต็ด | ปอร์ทสมัธ | เรดดิง | ซันเดอร์แลนด์ | ทอตแนมฮ็อตสเปอร์ | เวสต์แฮมยูไนเต็ด | วีแกนแอทเลติก |
สโมสรฟุตบอลมิดเดิลสโบรช์

Thursday, September 20, 2007

ภาษาโควาร์
ภาษาโควาร์ จัดอยู่ในภาษากลุ่มดาร์ดิก มีผู้พูด 400,000 คน ในชิตรัล ประเทศปากีสถานทางตะวันตกฉียงเหนือ ในหุบเขายาซินและคูปิส ในคลิกิส บางส่วนของสวัตตอนบน เป็นภาษาที่สองในคลิกิสและฮันซา เชื่อกันว่ามีผู้พูดภาษาโควาร์จำนวนเล็กน้อยในอัฟกานิสถาน จีน อินเดีย ทาจิกิสถานและในกรุงอิสตันบูล
ภาษาโควาร์มีลักษณะของภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นการใช้สรรพนาม
ภาษาโควาร์ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านมากกว่าภาษาอื่นในกลุ่มดาร์ดิกด้วยกัน แต่มีหน่วยคำจากภาษาสันสกฤตน้อยกว่าภาษาชินาหรือภาษาโกฮิสถาน Colonel Biddulph เป็นชาวตะวันตกรุ่นแรกๆที่ศึกษาภาษาโควาร์และกล่าวว่าภาษาโควาร์สืบทอดมาจากภาษาอเวสตะ ภาษาเปอร์เซียโบราณ และภาษาสันสกฤต เขียนด้วยอักษรอาหรับแบบภาษาอูรดู
ฉันเป็น = asum
คุณเป็น = asus
เขาเป็น = asor
พวกเราเป็น = asusi
พวกคุณเป็น =asumi
พวกเขาเป็น = asuni

Wednesday, September 19, 2007

พ.ศ. 1078
พุทธศักราช 1078 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 535 - มีนาคม ค.ศ. 536
มหาศักราช 457 พ.ศ. 1078 วันเกิด

Tuesday, September 18, 2007


รายชื่อปาล์มที่พบได้ในประเทศไทย เรียงตามลำดับสกุล (บางชนิดนำเข้าจากต่างประเทศ)

A

ตาลฟ้า (Bismarck palm) - Bismarkia nobilis
ช้างร้องไห้ - Borassodendron machadonis
ตาลโตนด (Palmyra palm, Toddy Palm) - Borassus flabellifer B

หวาย (Rattan palm, Cane palm) - Calamus sp.
ปาล์มน้ำพุ - Carpentaria acuminata
เต่าร้างยักษ์น่าน (Thai giant mountain palm, Black trunk fishtail) - Caryota gigas
เต่าร้างเขา - Caryota maxima
เต่าร้างกอ - Caryota mitis
เต่าร้างเชียงราย - Caryota sp.
ปาล์มไผ่ (Bamboo palm) - Chamaedorea erumpens
ปาล์มไพลิน (Metallic Palm) - Chamaedorea metallica
แดงใหญ่ (Red Leaf Palm, Red Feather Palm, Blushing Palm) - Chamberyronia macrocarpa
ปาล์มชมพู - Chrysalidocarpus cabadae
ปาล์มขนนก - Chrysalidocarpus lucubensis
หมากเหลือง (yellow palm) - Chrysalidocarpus lutescens
สะดือเหลือง - Coccothrinax argentea
ปาล์มหนวด, เคราฤๅษี (old man palm) - Coccothrinax crinita
มะพร้าว, มะแพร้ว (coconut palm) - Cocos nucifera
อ้ายหมี (cuban petticoat palm) - Copernica macrogloassa
ลานใต้ (gebang palm) - Corypha elata
ลานกบินทร์บุรี - Corypha lecomtai
ลานราชบุรี - Corypha lecomtai
ลานตากฟ้า - Corypha sp.
ลานเมืองเหนือ (talipot palm) - Corypha umbraculifera
หมากแดง (sailing wax palm) - Cytostachys lakka C

ปาล์มหญิงใหญ่ - Dictyosperma album
ปาล์มหญิงกลาง - Dictyosperma aurium
ปาล์มหญิงเล็ก - Dictyosperma rubrum
ปาล์มเจ้าหญิง - (princess palm) Dictyosperma sp.
ปาล์มน้ำมัน (oil palm) - Elaeis guineensis
หลุมพี - Eleiodoxa conferta H, K

ตาลแดง (Blue Latan Palm) - Latania loddigesii
ปาล์มเจ้าเมืองตรัง - Licuala elegans
ปาล์มจีบ (Ruffled Fan Leaf Palm, Vanuatau Fan Palm, Palas Payung) - Licuala grandis
กะพ้อ (Spiny Licuala Palm, Mangrove Fan Palm) - Licuala spinosa
กะพ้อหนู - Licuala sp.
ปาล์มจีน, ปาล์มเซี่ยงไฮ้ (Chinese Fan Palm) - Livistona chinensis
ตาลม่วง (Central Australian Cabbage Palm) - Livistona mariae
ปาล์มยะวา (Footstool Palm, Serdang) - Livistona rotundifolia
ค้อ - Livistona sp.
ตาลทะเล, มะพร้าวแฝด (Coco-de-mer, double coconut) - Lodoicea maldivica L

ปาล์มพระราหู - Maxuabaurettia sp.
สาคู (Sago palm) - Metroxylon sagu
ปาล์มสามทาง (Triangle Palm) - Neodypsis decaryi
ปาล์มคอแดง (Redneck) - Neodypsis lastelliana darienite
จาก (Nipa palm) - Nypa fruiticans รายชื่อปาล์มในประเทศไทย M, N

เหลาชะโอน - (Nibung) - Oncosperma tigillarium
พน - Oranic sp. O

ระกำแสด - Phoenicophorium borsigianum
อินทผลัมซาอุ (Date palm) - Phoenix dactylifera
อินทผลัมไต้หวัน - Phoenix hanciana var. taiwaniana
เป้งทะเล - Phoenix paludosa
สิบสองปันนา (ปาล์ม) (Pigmy date palm) - Phoenix roebelenii
อินทผลัมใบแบน (Cliff Date Palm) - Phoenix rupicola
เป้งเขา - Phoenix sp.
อินทผลัมลูกผสมโคราช - Phoenix sp.
อินทผลัมเพชรบุรี (Wild date palm, Silver Date Palm, Sugar Date Palm, Khajuri) - Phoenix sylevestris
กะเปา - Pholidocarpus macrocarpus
หมากงาช้าง, หมากเจ - Pinanga sp.
ปาล์มพัด (Fiji Fan Palm) - Pritchardia pacifica
ปาล์มขุนหมากรุก - Pseudophoenix vintfera
หมากเขียว (Macartur palm) - Ptychosperma macarthurii P

ปาล์มหน้าต่าง (window palm) - Reinhardtia gracilis
จั๋ง (lady palm) - Rhapis sp.
ปาล์มขวด (bottle palm) - Roystonea regia S

ปาล์มบังสูรย์, ปาล์มใบข้าวหลามตัด - Tessmimania altifround
สะดือเขียว (thatch palm) - Trinax parvifora

Monday, September 17, 2007

เทลิโทรมัยซิน
?
มาช่วยกันเพิ่มเติมและแก้ไขกันเถอะ เพื่อให้บทความนี้น่าอ่านยิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ เริ่มต้นเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย หรือ ภาษาอื่นด้านซ้ายมือ ให้นำกล่องนี้ออกเมื่อมีข้อความเพิ่มเติม


เทลิโทรมัยซิน (Telithromycin)


รุ่นที่ 1
รุ่นที่ 2
รุ่นที่ 3

Friday, September 14, 2007

พระตำหนักสวนจิตรลดา
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน (อังกฤษ - Chitralada Rahotan Royal Residence) เป็นพระตำหนักในพระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณทุ่งส้มป่อย ซึ่งเป็นทุ่งนาระหว่างพระราชวังสวนดุสิตกับวังพญาไท (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) โดยโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาลจัดสร้างพระตำหนักขึ้น โดยมีพระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการก่อสร้าง เพื่อทรงใช้เป็นที่รโหฐานสำหรับทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ รวมทั้งราชเสวกจะได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นการส่วนพระองค์ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามทุ่งส้มป่อยว่า สวนจิตรลดา พระราชทานนามพระตำหนักว่า พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน บริเวณรอบพระตำหนักมีการขุดคูและทำกำแพงรั้วเหล็กโดยรอบ มีประตู 4 ทิศ พระราชทานชื่อตามสวนจิตรลดาของพระอินทร์และท้าวโลกบาล คือ พระอินทร์อยู่ชม พระยมอยู่คุ้น พระวิรุณอยู่เจน และพระกุเวรอยู่เฝ้า
พระตำหนักจิตรลดารโหฐานสร้างเป็นตึก 2 ชั้นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับเป็นครั้งคราว เมื่อมีพระราชพิธีต่าง ๆ ก็ทรงกระทำการที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเช่นเดียวกับพระราชวัง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมนเทียรสถานขึ้นใหม่เป็นที่ประทับที่วังพญาไท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยกสวนจิตรลดาเป็นพระราชฐานอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต
ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นที่ประทับถาวร ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงเรียนจิตรลดา เมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นสถานศึกษาชั้นต้นสำหรับพระโอรส พระธิดาและบุตรหลานข้าราชสำนัก ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างศาลาดุสิดาลัย เป็นศาลาอเนกประสงค์
ภายในพระตำหนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสถานที่ทดลองโครงการทดลองส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร เพื่อนำผลการศึกษาพระราชทานแก่ประชาชน เช่น โครงการนาข้าวทดลอง โครงการค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงเขียว โครงการปลูกข้าวไร่ โครงการเลี้ยงปลานิล และโครงการโคนม รวมทั้งยังมีโรงงานจากโครงการทดลองของพระองค์เกิดขึ้นหลายประเภท เช่น โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงนมผงสวนดุสิต โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงสีข้าวตัวอย่าง โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงบดและอัดแกลบ และโรงปุ๋ยอินทรีย์

Thursday, September 13, 2007

พ.ศ. 119
พุทธศักราช 119 ใกล้เคียงกับ ก่อน ค.ศ. 425

พ.ศ. 119 วันเกิด

Wednesday, September 12, 2007

ค.ศ. 931
พุทธศักราช 1474 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 931 - มีนาคม ค.ศ. 932
มหาศักราช 853 วันเกิด

Tuesday, September 11, 2007

ค.ศ. 961ค.ศ. 961
พุทธศักราช 1504 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 961 - มีนาคม ค.ศ. 962
มหาศักราช 883 วันเกิด

Monday, September 10, 2007


บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากว่ายังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม หรือไม่รู้วิธีอ่านในภาษาไทย
MySQL (มายเอสคิวแอล) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลโดยใช้ภาษา SQL. แม้ว่า MySQL เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แต่แตกต่างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั่วไป โดยมีการพัฒนาภายใต้บริษัท MySQL AB ในประเทศสวีเดน โดยจัดการ MySQL ทั้งในแบบที่ให้ใช้ฟรี และแบบที่ใช้ในเชิงธุรกิจ
MySQL สร้างขึ้นโดยชาวสวีเดน 2 คน และชาวฟินแลนด์ ชื่อ David Axmark, Allan Larsson และ Michael "Monty" Widenius.

รุ่นของผลิตภัณฑ์
ในเวอร์ชัน 5.0 มีความสามารถหลายอย่างที่สำคัญสำหรับระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือระดับองค์กร ( EnterPrise Feature ) เช่น Store Procedure , database trigger,database view, database schema ซึ่งได้มีการปรับเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนของตารางและการทำ Index ขึ้นมาอีก ปัจจุบันเวอร์ชัน community อยู่ที่เวอร์ชันเสถียร ( stable ) 5.0 และเวอร์ชันทดสอบคือ 5.1 beta release และ 5.2 Alpha
ตั้แต่เวอร์ชัน 5.1 เริ่มสนับสนุนการทำ Parttion Database , ตารางเวลาสำหรับเหตุการณ์ต่างๆ (Event schedule)

ความสามารถที่เพิ่มขึ้น
รอแก้ไขและเพิ่มเติมเนื้อหา

MyISAM ค่าปกติ ( default )
InnoDB สนับสนุนการทำ ทรานแซคชั่น ( transaction ) แบบ ACID
Memory การจัดเก็บในหน่วยความจำ ใช้เป็นตารางชั่วคราวเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากเก็บไว้ในหน่วยความจำ ( memory ) ทำให้มีความเร็วในการทำงานสูงมาก
Merge
Archive เหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลพวก log file,ข้อมูลที่ไม่ต้องมีการ คิวรี่(query)หรือใช้บ่อยๆ เช่น log file เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนหลัง ( Security Audit Information )
Federated สำหรับการจัดเก็บแบบปลายทาง ( remote server ) แทนที่จะเป็นการจัดเก็บแบบ local เหมือนการจัดเก็บ ( Storage ) แบบอื่นๆ
NDB สำหรับการจัดเก็บแบบ คลัสเตอร์(cluster)
CSV เก็บข้อมูลจาก Text ไฟล์โดยอาศัยเครื่องหมาย คอมมา(comma) เป็นตัวแบ่งฟิลด์
Blackhole
Example ประเภทการจัดเก็บข้อมูล ( Database Storage Engine ) ที่สนับสนุน
รอแก้ไขและเพิ่มเติมเนื้อหา
ชนิดข้อมูลที่ MySQL สนับสนุนแบ่งเป็นสามประเภทหลักใหญ๋ๆ หากต้องการเพิ่มเติมสามารถไปอ่านเพิ่มเติมในคู่มือการใช้งาน หัวข้อเกี่ยวกับเรือง MySQL Data Types ได้

ชนิดข้อมูลที่เป็นตัวเลข ( Numeric data type )

  • BIT มีใชได้กับ Storge Engine MyISAM,InnoDB,Memory
    TINYINT
    SMALLINT
    MEDIUMINT
    INT
    BIGINT
    ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับวันที่และเวลา ( Date/Time data type )

    • DATETIME
      DATE
      TIMESTAMP
      TIME
      YEAR
      ชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับ ตัวอักษร ( String data type )

      • CHAR
        VARCHAR
        BINARY
        VARBINARY
        BLOB
        TEXT
        ENUM
        SET ชนิดของข้อมูลที่สนับสนุน ( Data type )
        MySQL เป็นที่นิยมใช้กันมากสำหรับฐานข้อมูลสำหรับเว็บไซต์ เช่น มีเดียวิกิ และ phpBB และนิยมใช้งานร่วมกับภาษาโปรแกรม PHP ซึ่งมักจะได้ชื่อว่าเป็นคู่ จะเห็นได้จากคู่มือคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่จะสอนการใช้งาน MySQL และ PHP ควบคู่กันไป นอกจากนี้ หลายภาษาโปรแกรมที่สามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL ซึ่งรวมถึง ภาษาซี ซีพลัสพลัส ปาสคาล ซีชาร์ป ภาษาจาวา ภาษาเพิร์ล พีเอชพี ไพทอน รูบี และภาษาอื่น ใช้งานผ่าน API สำหรับโปรแกรมที่ติดต่อผ่าน ODBC หรือ ส่วนเชื่อมต่อกับภาษาอื่น (database connector) เช่น เอเอสพี สามารถเรียกใช้ MySQL ผ่านทาง MyODBC,ADO,ADO.NET เป็นต้น

        MySQL การใช้งาน
        ในการจัดการฐานข้อมูล MySQL คุณสามารถใช้โปรแกรมแบบ command-line เพื่อจัดการฐานข้อมูล (โดยใช้คำสั่ง: mysql และ mysqladmin เป็นต้น ). หรือจะดาวน์โหลดโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลแบบ GUI จากเว็บไซต์ของ MySQL ซึ่งคือโปรแกรม: MySQL Administrator และ MySQL Query Browser. เป็นต้น

        โปรแกรมช่วยในการจัดการฐานข้อมูล และ ทำงานกับฐานข้อมูล
        มีส่วนติดต่อ ( interface ) เพื่อเชื่อมต่อกับภาษาในการพัฒนา อื่นๆ เพื่อให้เข้าถึงฟังก์ชันการทำงานกับฐานข้อมูล MySQL ได้เช่น ODBC (Open Database Connector) อันเป็นมาตรฐานกลางที่กำหนดมาเพื่อให้ใช้เป็นสะพานในการเชื่อมต่อกับโปรแกรมหรือระบบอื่นๆ เช่น MyODBC อันเป็นไดรเวอร์เพื่อใช้สำหรับการเชื่อมต่อในระบบปฏิบัติการวินโดว์, JDBC คลาสส่วนเชื่อมต่อสำหรับ Java เพื่อใช้ในการติดต่อกับ MySQL และมี API ( Application Programming Interface ) ต่างๆมีให้เลือกใช้มากมายในการที่เข้าถึง MySQL โดยไม่ขึ้นอยู่กับภาษาการพัฒนาใดภาษาหนึ่ง
        นอกเหนือจาก ตัวเชื่อมต่อกับภาษาอื่น ( Connector ) ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมี API ที่สนับสนุนในขณะนี้คือ
        ยังมีโปรแกรมอีกตัว เป็นโปรแกรมบริหารพัฒนาโดยผู้อื่น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายและนิยมกันเขียนในภาษาพีเอชพี เป็นโปรแกรมเว็บแอปพลิเคชัน ชื่อ phpMyAdmin

        DBI สำหรับการเชื่อมต่อกับ ภาษา perl
        Ruby สำหรับการเชื่อมต่อกับ ภาษา ruby
        Python สำหรับการเชื่อมต่อกับภาษา python
        .NET สำหรับการเชื่อมกับภาษา .NET framework
        MySQL++ สำหรับเชื่อมต่อกับภาษา C++
        Ch สำหรับการเชื่อมต่อกับ Ch ( C/C++ interpreter ) MySQL การออกเสียง

        ^  การออกเสียงคำว่า MySQL จาก mysql.com

Friday, September 7, 2007


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea: DPRK) หรือ เกาหลีเหนือ (North Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเคยเป็นชาติเดียวกันจนถึงปี พ.ศ. 2489 พรมแดนทางเหนือส่วนใหญ่ติดกับประเทศจีน และมีส่วนเล็กน้อยติดกับประเทศรัสเซีย
ภายในประเทศมักเรียกว่า Pukchosŏn: ปุกโชซอน (โชซอนเหนือ; 북조선; 北朝鮮) และมักใช้คำว่า Bukhan: บุกฮัน (ฮันเหนือ; 북한; 北韓) ในเกาหลีใต้

ประวัติศาสตร์
ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คือราชอาณาจักรโกกุเรียว ราชอาณาจักรปีกเจ และราชอาณาจักรซิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของแมนจูเรีย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์กาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสตศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูเรียอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร

ยุคประวัติศาสตร์
ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปปลดอาวุธญี่ปุ่นในเกาหลี แต่สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถตกลงเรื่องการรวมเกาหลีกันได้ แต่ละฝ่ายจึงประกาศประเทศของตน โดยเกาหลีใต้ เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ส่วนเกาหลีเหนือ เรียกชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังจากเกาหลีเหนือได้แยกออกมาเป็นเอกราชแล้ว นาย คิม อิล ซุง ก็ได้มีบทบาทสำคัญของการบริหารประเทศตลอดมา ในระหว่าง พ.ศ.2491-2515 เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และต่อจากนั้นก็ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี จนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2537 แล้วบุตรชาย คิม จอง อิล ได้ดำรงตำแหน่งสืบมา

ยุคเอกราช
เกาหลีเหนือเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ
เกาหลีเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของอดีตสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองของเกาหลีเหนือตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิจูเช่ (Juche) ซึ่งอดีตประธานาธิบดี คิม อิล ซุง ได้บัญญัติขึ้นเมื่อ 26 ธ.ค. 2498 ประกอบด้วยหลักการสำคัญ คือเอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง
เกาหลีเหนือมีการปกครองระบบพรรคเดียวมาโดยตลอด นับตั้งแต่มีการก่อตั้งประเทศเมื่อ 9 ก.ย. 2491 โดยมีพรรคคนงานเกาหลี (Workers Party of Korea) เป็นองค์กรที่มีบทบาทและอิทธิพล สูงสุดในทางการเมืองที่คอยควบคุมหน่วยงานของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญปกครองประเทศของเกาหลีเหนือบัญญัติไว้ว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของสมัชชาประชาชนสูงสุด ซึ่งมีสมาชิก 687 คน มาจากการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีเหนือได้เข้าสู่ความไม่แน่นอน ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิล ซุง ในปี 2537 ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศกังวลว่าเกาหลีเหนือจะประสบปัญหาวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม การเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศของนายคิม จอง อิล ในเดือนกรกฎาคม 2541 แสดงให้เห็นว่านายคิม จอง อิล สามารถกุมอำนาจการปกครองประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยนายคิม จอง อิล ก็ได้มีท่าทีที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโลกเสรีมากขึ้น คาดว่าเพราะต้องการได้รับเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
เมื่อ 5 ก.ย. 2541 การประชุมสภาประชาชนสูงสุดครั้งที่ 10 มีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยระบุว่า 1) นายคิม อิล ซุง เป็นผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ และเป็นบรรพบุรุษแห่งสังคมนิยมของเกาหลี ดังนั้น จึงยกย่องให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President) 2) ยกเลิกระบบประธานาธิบดีเป็นประมุข ให้ประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defense Commission) เป็นตำแหน่งสูงสุดของประเทศ โดยมีอำนาจปกครองด้านการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ 3) ให้สภาบริหารสูงสุด (Presidium) ของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ (Supreme People's Assembly) เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ
อนึ่ง สภาฯ มีมติแต่งตั้งนายคิม ยอง นาม ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ รับผิดชอบงานด้านการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ ได้แก่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีการทูต การให้และยกเลิกสัตยาบัน การแต่งตั้งและเรียกกลับผู้แทนทางการทูตในต่างประเทศ การรับสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ การเป็นผู้แทนประเทศพบบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่ไปเยือนเกาหลีเหนือ รวมทั้งเป็นผู้แทนประเทศเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆ
เมื่อ 3 ก.ย.2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยที่ประชุมฯ มีมติดังนี้

นาย Kim Jong Il ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลาโหม (Chairman of the National Defense Commission) ต่อไป
นาย Kim Yong Nam ดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุด (President of the Presidium of the DPRK Supreme People's Assembly) ต่อไป
นาย Park Pong Ju รมว.อุตสาหกรรมเคมี ดำรงตำแหน่ง นรม. สืบแทนนาย Hong Song Nam
นาย Paek Nam Sun ดำรงตำแหน่ง รมว.กต.ต่อไปทั้งนี้ นรม.คนใหม่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศให้มากยิ่งขึ้น สนับสนุนด้านการทหารอย่างเต็มที่ และส่งเสริมการรวมประเทศเกาหลีทั้งสอง การเมือง
เกาหลีเหนือปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์โดยมี นายคิมจองอิล เป็นผู้นำประเทศ

การปกครอง
ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศเกาหลีเหนือแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provinces) 3 เขตพิเศษ (special regions) และ 2 เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง (directly-governed cities) ได้แก่
แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศเกาหลีเหนือและที่ตั้งของเมืองเปียงยาง

การแบ่งเขตการปกครอง

คังวอน (Kangwŏndo: คังวอนโด 강원도; 江原道)
ชากัง (Chagang-do: ชากัง-โด; 자강도; 慈江道)
เปียงอันใต้ (P'yŏngan-namdo: เปียงอัน-นัมโด; 평안 남도; 平安南道)
เปียงอันเหนือ (P'yŏngan-bukto: เปียงอัน-บุคโต; 평안 북도; 平安北道)
เรียงกัง (Ryanggang-do: เรียงกัง-โด; 량강도; 兩江道)
ฮวางแฮใต้ (Hwanghae-namdo: ฮวางแฮ-นัมโด; 황해 남도; 黃海南道)
ฮวางแฮเหนือ (Hwanghae-bukto: ฮวางแฮ-บุคโต; 황해 북도; 黃海北道)
ฮัมเกียงใต้ (Hamgyŏng-namdo: ฮัมเกียง-นัมโด; 함경 남도; 咸鏡南道)
ฮัมเกียงเหนือ (Hamgyŏng-bukto: ฮัมเกียง-บุคโต; 함경 북도; 咸鏡北道) เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง
คาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร (612 ไมล์) และกว้าง 175 กิโลเมตร (105 ไมล์) ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทร พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูนทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงามอย่างมหัศจรรย์ ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขา ตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้ และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลีโดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว
คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่บริเวณเหนือเส้นขนานที่ 38 คือ ประเทศระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางใต้ และประเทศระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร

ภูมิศาสตร์

เศรษฐกิจ
เกาหลีเหนือจัดพื้นที่การเกษตรเป็นคอมมูนเช่นเดียวกับจีน และมอบพื้นที่ขนาดเล็กใกล้คอมมูนให้เป็นแปงเกษตรส่วนตัว ผลผลิตทางการเกษตรของเกาหลีเหนือ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี โค และสัตว์ปีก แต่เกือบทุกชนิดไม่พอเลี้ยงประชากรในประเทศ ส่วนใหญ่จึงต้องสั่งเข้าจากอดีตสหภาพโซเวียต

การเกษตร
เกาหลีเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยถ่านหิน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ส่งเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้ประเทศอันดับหนึ่งนอกจากนี้ยังมี ตะกั่ว สังกะสี และเหล็ก

การทำเหมืองแร่
เกาหลีเหนือมีอุตสาหกรรมหนักอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องจักรกล เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ และปุ๋ย เศรษฐกิจการค้า
- เกาหลีเหนือมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยเกาหลีเหนือได้ยึดถืออุดมการณ์ลัทธิจูเช่ (Juche) ของพรรคแรงงานเกาหลีมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความเป็นเอกภาพ การพึ่งพาตนเอง เกียรติภูมิของชาติ และการสร้างความเจริญให้กับประเทศ พร้อมกับประกาศ "ขบวนการม้าบิน" (Chollima Movement) ในปี 2501 ที่กระตุ้นให้ประชาชนขยันขันแข็งในการทำงาน เร่งเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร
- เกาหลีเหนือมีระบบการค้าผูกขาดโดยภาครัฐ ทั้งการค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ควบคุมการค้าภายในประเทศ และกระทรวงการค้าต่างประเทศควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐหรือสหกรณ์การค้าของรัฐ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการค้า รัฐบาลเกาหลีเหนือพยายามขยายการค้ากับต่างประเทศให้มากขึ้น โดยได้เน้นการผลิตสินค้าที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น พยายามปรับปรุงเครดิตของเกาหลีเหนือ ส่งเสริมสินค้าออกทั้งแบบ merchant trade และ barter trade ส่งเสริมการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Commission for the Promotion of Foreign Trade) เพื่อสนับสนุนการค้ากับประเทศที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ
- เกาหลีเหนือสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียงร้อยละ 20 ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศเท่านั้น ภาวะการขาดแคลนพลังงานของเกาหลีเหนือ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตได้เพียงร้อยละ 20 ของความสามารถในการผลิต ทั้งนี้ มีรายงานว่าระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งของเกาหลีเหนืออยู่ในสภาพย่ำแย่ ซึ่งหากสภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไป อาจส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายได้ และนำไปสู่การอพยพของชาวเกาหลีเหนือไปสู่จีนและเกาหลีใต้
- อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกาหลีเหนือมีทหารประจำการกว่า 1 ล้านคน ทำให้องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ แสดงข้อห่วงกังวลว่าความช่วยเหลือด้านอาหารที่นานาประเทศส่งไปช่วยเหลือชาวเกาหลีเหนือ ส่วนใหญ่อาจถูกนำไปใช้เลี้ยงดูกองทัพและไม่ถึงมือประชาชนที่อดอยากและขาดแคลนอาหาร
- ในปี 2538 และ 2539 ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาในปี 2540 เกาหลีเหนือประสบกับภาวะภัยแล้งและพายุในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ประชาชนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงได้เริ่มขอรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกมาตั้งแต่ปี 2538 ทั้งนี้ ก่อนการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในปี 2532-2533 ประเทศที่เคยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือคือ สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มูลค่าการค้ากับรัสเซียได้ลดน้อยลงอย่างมาก และประเทศยุโรปตะวันออกก็ไม่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของเกาหลีเหนือ ก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่นๆ ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาได้ รวมทั้ง เกาหลีเหนือยังประสบปัญหาการขาดเแคลนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกด้วย
- รัฐบาลเกาหลีเหนือได้พยายามหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนี้ 1) ในปี 2534 ได้พยายามทดลองเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเดียวกับจีน บริเวณใกล้พรมแดนจีนและรัสเซียเรียกว่า Rajin-Sonbong Free Trade Zone (FTZ) เพื่อเป็นเขตผ่อนผันให้กับนักลงทุนต่างชาติผ่านเข้าออกได้ โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา มีการลดภาษีศุลกากร และมีสิ่งจูงใจอื่นๆ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเขตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยมาก (มีนักลงทุนจากไทยและจีนเข้าไปลงทุนในขณะนี้) เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูง การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินงาน นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ค่อยแน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองภายในเกาหลีเหนือ ตลอดจนปัญหาเรื่องนโยบายคุ้มครองการลงทุน รวมทั้งความไม่พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สนามบิน ท่าเรือ และการขาดพื้นฐานทางอุตสาหกรรม และ 2) ในปี 2541 ได้เปิดให้บริษัทฮุนไดของเกาหลีใต้เข้าไปลงทุนโดยการนำนักท่องเที่ยวเข้าชมบริเวณเทือกเขา Kumgang โดยบริษัทฮุนไดต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือเดือนละ 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ [แต่ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้น้อยเกินคาด คือน้อยกว่า 4,000 คนต่อเดือนทำให้บริษัทฮุนไดขาดทุนอย่างนัก จนเมื่อเดือน ม.ค. 2545 รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการดังกล่าว เพราะเห้นว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมนโยบายปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้] 3) เมื่อ ก.ย. 2545 เกาหลีเหนือได้ประกาศให้เมืองชินอึยจู ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ติดชายแดนจีนตรงข้ามเมืองตานตงของมณฑลเหลียวหนิงมีแม่น้ำยาลูเป็นเส้นกั้นพรมแดนให้เป็นเขตบริหารพิเศษขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางโดยสามารถบัญญัติกฎหมายมีอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ 4) นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ระหว่างนายคิม จอง-อิล ผู้นำเกาหลีเหนือกับนายคิม แด-จุง อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในปี 2543 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้มีความพยายามร่วมกันในการส่งเสริมโครงการนิคมอุตสาหกรรมแกซอง (Gaeseong Industrial Complex- GIC) ซึ่งปัจจุบัน โครงการดังกล่าวอยู่ในระยะที่ 1 (เสร็จสิ้นในปี 2550) มีอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์จากค่าจ้างแรงงานที่ถูก การพึ่งพาและทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรม เช่น บริษัทผลิตเครื่องใช้ในครัว บริษัทผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น
- อย่างไรก็ตาม การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1718 (2006) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน
- เมื่อ 2 ส.ค. 2545 เกาหลีเหนือได้เริ่มทดลองมาตรการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยลดการปันส่วนอาหาร และให้ประชาชนซื้ออาหารจากตลาดมากขึ้นแทน และเพิ่มค่าแรงเพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้ออาหารจากตลาดเอง รัฐบาลเกาหลีเหนือจะใช้ family production system ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งคล้ายกับระบบที่จีนใช้เมื่อเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดการซื้อธัญญพืชสำหรับการปันส่วนของรัฐ และจะปล่อยให้เกษตรกรสามารถขายพืชผลได้เองมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจะลดค่าเงินของเกาหลีเหนือจาก 2.2 วอนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เป็น 200 วอนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ระบบตลาดต่อไปในอนาคต
- การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือมีความคืบหน้าที่ดีขึ้น ถือว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเกาหลีเหนือสามารถรับมือกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปได้ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงการจัดสรรอุปทานพลังงานเพื่อรองรับความต้องการได้ดีขึ้น มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2546 ภาคเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4.156 ล้านตันจากความต้องการบริโภค 5.1 ล้านตัน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,390 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 11 ปี
- ปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ให้อิสระมากขึ้นแก่ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทต่างๆ ในการเลือกประกอบอาชีพ การบริหารจัดการ การจัดทำข้อตกลงการค้าได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเพิ่มอีกกว่า 300 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบเศรษฐกิจการตลาด ในขณะที่สตรีเกาหลีเหนือก็เข้าไปมีบทบาทในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย
- ล่าสุด จากการประชุมสภาประชาชนสูงสุด (SPA) เมื่อ 11 เม.ย. 49 ที่ผ่านมา นโยบายทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อันเป็นยุทธศาสตร์ของเกาหลีเหนือในการเพิ่มความสามารถในการผลิตและเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักจูเช่ และเชื่อว่าเกาหลีเหนือจะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และอุตสาหกรรม Software (นาย Kim Jong Il เคยประกาศให้ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของการประวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2541เป็นต้นมา เกาหลีเหนือประกาศว่าการสร้าง "ประเทศที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง" (Kangsong Taeguk- 강성대국) จะต้องตั้งอยู่บนเสาหลักสำคัญ 3 ประการคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุดมการณ์ และการทหาร

North Korea อุตสาหกรรม
ภูมิหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
- เริ่มต้นในปี 2515 จากการแลกเปลี่ยนการติดต่อในด้านการค้าและกีฬาอย่างไม่เป็นทางการ
- ในปี 2517 เกาหลีเหนือแสดงความสนใจที่จะขอเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น
- 8 พ.ค. 2518 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และมีการแลกเปลี่ยน ออท.ระหว่างกันในเวลาต่อมา โดย ออท.เกาหลีเหนือประจำสหภาพพม่า (ในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่ง ออท.ประจำประเทศประเทศไทย และออท.ณ กรุงปักกิ่ง ดำรงตำแหน่งออท.ณ กรุงเปียงยาง
- 15 มี.ค. 2534 เกาหลีเหนือได้ยกระดับสำนักงานผู้แทนการค้าของเกาหลีเหนือในกรุงเทพมหานคร (ที่ตั้งขึ้นเมื่อ 25 ธ.ค.2522) เป็น สอท.แต่ประเทศไทยยังไม่ได้เปิด สอท.ณ กรุงเปียงยาง โดยขณะนี้ สอท.ณ กรุงปักกิ่ง เป็นผู้ดูแล
การแลกเปลี่ยนการเยือน
- นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันแล้ว ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือน ระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
การเยือนที่สำคัญจากฝ่ายเกาหลีเหนือมาประเทศไทย ได้แก่
- ก.พ. 2525 นาย Li Jong Ock รมว.กต.
- ต.ค. 2531 นาย Kim Yong Nam รองนรม. และ รมว.กต.
- 13-17 ธ.ค. 2537 นาย Kim Yong Nam รอง นรม. และ รมว.กต.
- ปลาย ม.ค. 2534 นาย Yon Hyung Muk นรม.เกาหลีเหนือ
- ต้น พ.ย. 2536 นาย Chan Chol รองนรม.และรมว.ศึกษา ศิลปและวัฒนธรรม ระหว่าง 5-9 ก.พ. 2538 นาย Li Song Dae ประธานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจระหว่างประเทศมาเยือนประเทศไทย
- 24 ก.ค. 2538 นาย Choi U Jin รมช.กต.มาเยือนประเทศไทย เมื่อปลาย ส.ค. 2541 นาย Pak Song Chol รองประธานาธิบดีมาแวะผ่านประเทศประเทศไทย ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นรม.และรองประธานสภา ระหว่าง 25-29 ก.ค. 2543 นาย Paek Nam Sun รมว.กต.ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ และเข้าร่วมการประชุม ARF ครั้งที่ 7
- 29 ต.ค.–2 พ.ย. 2543 นาย Cho Tae Bok ประธานสมัชชาประชาชนสูงสุด เกาหลีเหนือ (ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าประธานสภาผู้แทนราษฎร) ได้เดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐสภา
- 28 เม.ย.-2 พ.ค.2544 นาย Ri Ryong Nam รมช.การค้า มาเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของรมว.พณ.
- 4-8 ธ.ค. 2544 นาย Ri Kwang Gun รมว.การค้าต่างประเทศเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของ รมว.พณ. และได้ลงนามข้อตกลงซื้อข้าวประเทศไทย 300,000 ตันด้วยเงินเชื่อ 2 ปี เรื่อง Account Trade และการขยายความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน (เมื่อ 29 ม.ค. 2545 ครม. มีมติเห็นชอบการขายข้าวดังกล่าว)
- 28 ก.พ. – 3 มี.ค. 2545 นายคิม ยอง นาม นำคณะเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล โดยมี พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีให้การต้อนรับที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ และในวันที่ 1 มีนาคม 2545 มีการหารือสองฝ่ายเต็มคณะ และพิธีลงนามความตกลง 3 ฉบับ คือ ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ความตกลงทางวัฒนธรรม และความตกลงแลกเปลี่ยนข่าวสารและความร่วมมือระหว่างสำนักข่าวประเทศไทย และสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ
- 22-29 มิ.ย. 2545 นาย Ri Kwang Gun รมว. การค้าต่างประเทศเยือนประเทศไทยเพื่อขอเจรจาการแสดงความจริงใจในการค้าข้าวระหว่างประเทศไทยกับเกาหลีเหนือ
- 28-31 ม.ค. 2546 นาย Ri Kum Bom รมว.ไปรษณีย์และโทรคมนาคม เยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- 16-19 ก.ย. 2546 นาย Ri Ju Kwan อธิบดีกรมสารนิเทศ กต.เกาหลีเหนือ เยือนประเทศไทยตามโครงการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่กรมสารนิเทศ กต.ของสองประเทศ
- 26 มิ.ย.-1 ก.ค. 2547 นาย Rim Kyong Man รมว.การค้าต่างประเทศเกาหลีเหนือเดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงพาณิชย์
- 3-5 ส.ค. 2547 นาย Kim Yong Il, Vice Minister กต.เกาหลีเหนือ เยือนประเทศไทยในฐานะแขก กต.
- 24-28 ก.ค. 2548 นาย Paek Nam Sun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
การเยือนที่สำคัญจากฝ่ายประเทศไทย ได้แก่
- 8-15 พ.ค. 2530 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- 22-26 มี.ค. 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- 9-14 มี.ค. 2535 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ เสด็จฯ เป็นครั้งที่ 2 เมื่อปลาย มิ.ย.2536
- 21-24 ส.ค. 2530 รมว.กต. (พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา)
- เม.ย. 2536 นายมารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา
- ปลาย มิ.ย. 2537 นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานวุฒิสภา
-18-21 เม.ย. 2538 นายอุทัย พิมพ์ใจชน รมว.พาณิชย์
-15-18 ก.ค. 2543 นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รมช.พณ.
-22- 27 ต.ค. 2544 นายกระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- 13-16 พ.ย. 2544 นายประจวบ ไชยสาส์น ผู้แทนทางการค้าของประเทศไทย
- 8-11 มิ.ย. 2545 นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
- 30 ก.ค - 3 ส.ค. 2545 นาย พิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานสภาคนที่หนึ่ง
- 30 ก.ย.-5 ต.ค 2545 อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กต. (นายนรชิต สิงหเสนี) และคณะ
- 18-25 ต.ค. 2546 กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาประเทศไทย-เกาหลีเหนือ
- 14-19 มิ.ย. 2547 อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กต. (นายอภิชาติ ชินวรรโณ) และคณะ
- 19-24 ก.ค. 2547 นายกันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าประเทศไทย ที่ปรึกษา รมว.กต.และคณะ
- 12-16 ต.ค. 2547 รอง อ.กรมสารนิเทศ (นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ) และคณะ
- 27-30 ส.ค. 2548 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนเกาหลีเหนืออย่างป็นทางการ
ความร่วมมือด้านการค้า/การลงทุน
- กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคีได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (Joint Trade Commission:JTC) รมว.พณ.ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน
- การลงทุนประเทศไทยในเกาหลีเหนือ บริษัท ล็อกซเลย์ จำกัด มหาชน (Loxley Public Co.,Ltd) ลงทุนด้านกิจการโทรคมนาคม
- การค้าประเทศไทยกับเกาหลีเหนือ ประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ ในปี 2548 มีมูลค่า 13,695.9 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการนำเข้า 5,357.2 ล้านบาท มูลค่าการส่งออก 8,338.7 ล้านบาท
- สินค้านำเข้าจากประเทศไทยได้แก่ หลอดไฟฟ้า ยางพารา แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง ฯลฯ
- สินค้าส่งออกมาประเทศไทยได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ฯลฯ
ความตกลงการบิน
- เมื่อ 18 มี.ค. 2536 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้ทำความตกลงการบินระหว่างกัน โดยสายการบิน Koryo ของเกาหลีเหนือ ได้เริ่มทำการบินจากกรุงเปียงยางมาประเทศไทยแล้วระยะหนึ่ง (เที่ยวบินปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2536) และได้ระงับเที่ยวบินไว้ระยะหนึ่ง เพราะมีผู้โดยสารน้อย โดยเกาหลีเหนืออ้างว่าสาเหตุที่ไม่มีผู้โดยสารเพราะปัญหาความไม่สะดวกเกี่ยวกับการขอรับการตรวจลงตราให้แก่ชาวเกาหลีเหนือที่เดินทางมาประเทศไทย ซึ่งไม่สามารถรับการตรวจลงตราที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ได้ แต่ยังต้องไปขอรับการตรวจลงตราที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือได้เปิดเส้นทางบินไปกลับ เปียงยาง-มาเก๊า-กรุงเทพฯ โดยบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยว เมื่อเดือนเม.ย. 2540 ได้ขยายเป็นสัปดาห์ละ 2 เที่ยว แต่ต่อมาได้ลดลงเป็นสัปดาห์ละ 1 เที่ยวเหมือนเดิม เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารมีไม่มากพอ ปัจจุบันเนื่องจากมีผู้โดยสารน้อยมาก สายการบิน Koryo จึงทำการบินเส้นทางเปียงยาง-กรุงเทพฯ-เปียงยาง เพียงเดือนละ 1 เที่ยวเท่านั้น
ความร่วมมือทางทหาร
- ประเทศไทยและเกาหลีเหนือยังไม่มีความร่วมมือทางทหารที่เป็นทางการระหว่างกันแต่อย่างใด แต่ทั้งสองฝ่ายก็มีการติดต่อระหว่างกัน โดยนาย Oh Jin-U รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีเหนือมาเยือนประเทศไทย เมื่อ ธ.ค. 2533 และเมื่อระหว่าง 18-21 ส.ค. 2536 พล.อ.วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศไทยก็ได้ไปเยือนเกาหลีเหนือ
- ฝ่ายเกาหลีเหนือได้เคยทาบทามขอแต่งตั้งผู้ช่วยทูตทหารเกาหลีเหนือประจำประเทศประเทศไทย และเสนอให้ประเทศไทยพิจารณาแต่งตั้งให้ผู้ช่วยทูตทหารประจำกรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาปกคลุมถึงเกาหลีเหนือด้วย ซึ่งกระทรวงกลาโหมกำลังพิจารณาข้อเสนอของเกาหลีเหนือ
ด้านวัฒนธรรม
- ประเทศไทยและเกาหลีเหนือมีการแลกเปลี่ยนการติดต่อและการดำเนินกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน โครงการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน กีฬา นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกระทรวงการต่างประเทศประเทศไทย-เกาหลีเหนือ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้น
- อนึ่ง เกาหลีเหนือได้เคยทาบทามขอทำความตกลงด้านวัฒนธรรมกับประเทศไทยในปี 2532 และปี 2534 แต่ประเทศไทยไม่ได้ตอบสนอง ล่าสุด เมื่อนายคิม ยอง นาม ประธานสภาบริหารสูงสุดกำหนดเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีระหว่าง 28 ก.พ. – 3 มี.ค. 2545 ฝ่ายเกาหลีเหนือได้เสนอร่างความตกลงฯ อีกครั้ง และประเทศไทยตอบรับ และมีการลงนามความตกลงใน 1 มี.ค. 2545 - ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2548 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้เห็นชอบให้มีการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางวัฒนธรรม โดยเกาหลีเหนือเสนอจะให้มีการแลกเปลี่ยนการแสดงของคณะนาฏศิลป์
ความร่วมมือทางวิชาการ
- ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่เกาหลีเหนือภายใต้การดำเนินงานของกรมวิเทศสหการ โดยเมื่อปี 2539 เกาหลีเหนือได้จัดส่งคณะผู้แทนเข้าหารือกับผู้แทนกรมวิเทศสหการเพื่อแสดงความประสงค์ในการที่จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในโครงการหลักสูตรฝึกอบรมประจำปี ซึ่งรัฐบาลประเทศไทยได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการค้าระหว่างประเทศ การคลัง การลงทุน และการขนส่ง โดยการเข้าร่วมการฝึกอบรมดังกล่าวของเกาหลีเหนืออยู่ในรูปแบบของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation among Developing Countries- TCDC) ซึ่งรัฐบาลของประเทศผู้ขอรับการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างประเทศ และรัฐบาลของประเทศผู้จัดการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศทั้งหมด พร้อมกันนี้ เกาหลีเหนือยังได้เสนอที่จะให้ประเทศไทยจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมที่เกาหลีเหนือจัด ซึ่งเกาหลีเหนือมีศักยภาพ เช่น สาขาเหมืองแร่ และนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งในปี 2541 คณะผู้แทนกรมวิเทศสหการได้เดินทางไปหารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับเกาหลีเหนือที่กรุงเปียงยาง ตามคำเชิญของรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายประเทศไทยได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือทางวิชาการ ดังนี้ ทุนฝึกอบรม/ดูงานระยะสั้นทางด้านวิทยาศาสตร์และการเกษตรฯ การเชิญเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือเยือนประเทศไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น นอกจากนี้ กรมวิเทศสหการยังได้จัดสรรการให้ความร่วมมือในกรอบการฝึกอบรมประเทศที่สาม (Third Country Training Program) โดยร่วมมือกับ WHO ในการจัดการฝึกอบรม/ดูงานด้านสาธารณสุขให้แก่เกาหลีเหนือปีละประมาณ 15-18 หลักสูตรด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเหนือ (조선민주주의인민공화국)

ประชากร
ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลี แต่ก็มีชาวชาวจีน 162,000 คน ชาวมองโกล 6,900 คน ชาวอังกฤษ 50 คน ชาวฝรั่งเศส 500 คน ชาวรัสเซีย 4,600 คนและชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่

ศาสนา
เดิมเกาหลีเหนือสมัยอาณาจักรนั้นได้ติดต่อกับจีน และญี่ปุ่น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองชีวิตความเป็นอยู่ของผู้หญิงคือ จะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ช่วยเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว ทั้นนี้เพราะมาจากอิทธิพลจากส่วนอื่นโลก