Thursday, May 31, 2007

ดูกู


เคานท์ดูกู (อีกชื่อหนึ่งคือดาร์ธ ไทรานัส) เป็นตัวละครจากจักรวาล สตาร์ วอร์ส รับบทโดยคริสโตเฟอร์ ลี ในภาพยนตร์ไตรภาคต้น และให้เสียงโดยคอรีย์ เบอร์ตัน ในภาพยนตร์การ์ตูน สตาร์ วอร์ส : สงครามโคลน มีบทบาทสำคัญเป็นตัวร้ายหลักในสตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2 : กองทัพโคลนส์จู่โจม และเป็นตัวร้ายรองในสตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3 : ซิธชำระแค้น
ดูกูมีชีวิตอยู่ในช่วงปีที่ 102 ก่อนยุทธการยาวิน จนถึงปีที่ 19 ก่อนยุทธการยาวิน เขาเป็นอาจารย์เจไดที่มีชื่อเสียงเป็นตำนานและเป็นเคานท์แห่งเซเรนโน ภายหลังได้เข้าสู่ด้านมืดของพลังและกลายเป็นดาร์ธ ไทรานัส ผู้ฝึกในวิถีซิธของดาร์ธ ซิเดียส แทนดาร์ธ มอล ที่เสียชีวิตไป และถูกแทนที่ในภายหลังโดยดาร์ธ เวเดอร์
ภายใต้คำสั่งของซิเดียส ดูกูได้เริ่มการเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนและเป็นผู้นำทางการเมืองให้กับสหภาพพิภพอิสระจนกระทั่งถูกฆ่าในการต่อสู้ตัวต่อตัวกับอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ระหว่างยุทธการคอรัสซานท์ครั้งที่สองในช่วงท้ายของสงครามโคลน


Wednesday, May 30, 2007

ภาษาสวาฮีลี

ภาษาสวาฮีลี (หรือ คิสวาฮีลี) เป็นภาษากลุ่มแบนตูที่พูดอย่างกว้างขวางในแอฟริกาตะวันออก ภาษาสวาฮีลีเป็นภาษาแม่ของ ชาวสวาฮีลี ซึ่งอาศัยอยู่แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกระหว่างประเทศโซมาเลียตอนใต้ ประเทศโมแซมบิกตอนเหนือ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 5 ล้านคนและคนพูดเป็นภาษาที่สองประมาณ 30-50 ล้านคน ภาษาสวาฮีลีได้กลายเป้นภาษาที่ใช้โดยทั่วไปในแอฟริกาตะวั�! �ออกและพื้นที่รอบ ๆ
คำว่า Swahili มาจากรูปพหูพจน์ของคำภาษาอาหรับ sahel ساحل (เอกพจน์) คือ sawahil سواحل แปลว่า "ขอบเขต" และ "ชายฝั่ง" (ใช้เป็นคำวิเศษณ์ที่แปลว่า "คนที่อาศัยอยู่ชายฝั่ง" หรือ "ภาษาชายฝั่ง") นอกจากนี้ คำว่า sahel ใช้เรียกพื้นที่พรมแดนของทะเลทรายซาฮารา การเพิ่ม "i" ตรงท้ายน่าจะมาจาก nisba ของภาษาอาหรับ (ของชายฝั่ง سواحلي) บ้างก็ว่าเป็นเหตุผลทางสัทศาสตร์



Tuesday, May 29, 2007

การกสงฆ์

ส่วนหนึ่งของ
พุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
การกสงฆ์ (อ่านว่า กา-รก-สงฆ์, การะกะสงฆ์) แปลว่า สงฆ์ผู้ทำกิจ, หมู่ภิกษุผู้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญ ใช้เรียกสงฆ์หมู่หนึ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำกิจสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นประโยชน์แก่หมู่คณะหรือแก่พระศาสนา ได้แก่ กิจการที่เป็นไปเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อรักษาพระธรรมวินัย เพื่อชำระอธิกรณ์ เป็นต้น
การกสงฆ์ ได้แก่สงฆ์ที่ร่วมกันทำสังคายนาหรือทำสังฆกรรมต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า สังคีติการกสงฆ์ กัมมการกสงฆ์ ตามลำดับ



Sunday, May 27, 2007

ประเทศบราซิล

บราซิล (Brazil) หรือชื่อทางการ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federative Republic of Brazil) (ภาษาโปรตุเกส: República Federativa do Brasil ออกเสียง: [ʁe'publikɐ fedeɾa'tivɐ du bɾa'ziw]) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และมหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปา! รากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาเม และดินแดนเฟรนช์เกียนา — ทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี
ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้! นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ



สารบัญ
(รอเพิ่มเติมข้อมูล)



ประวัติศาสตร์
(รอเพิ่มเติมข้อมูล)



การเมืองการปกครอง
ประเทศบราซิลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 รัฐ (states - estados) และ เฟเดอรัลดิสตริกต์ (federal district - distrito federal) (เป็นที่ตั้งของกรุงบราซิเลียเมืองหลวง) ได้แก่
รัฐต่าง ๆ และเฟเดอรัลดิสตริกต์ของบราซิลนั้น ถูกแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค โดยสถาบันภูมิศาสตร์และสถิติบราซิล (IBGE) คือ

รอไรมา
อามาปา
อามาโซนัส
ปารา
โตกันตินส์
อาเกร
รอนโดเนีย
มารันเยา
ปีเอาอี
เซอารา
รีโอกรันดีโดนอร์เต
ปาราอีบา
เปร์นัมบูกู
อาลาโกอัส
เซร์ชิเป
บาเยีย
มาตูโกรสซู
โกยาส
เฟเดอรัลดิสตริกต์ (บราซิเลีย)
มาตูโกรสซูโดซูล
มีนัสเชไรส์
เอสปีรีตูซันตู
รีโอเดจาเนโร
เซาเปาลู
ปารานา
ซันตากาตารีนา
รีโอกรันดีโดซูล
ภาคเหนือ ประกอบด้วยรัฐอาเกร รัฐอามาปา อามาโซนัส ปารา รอนโดเนีย รอไรมา และโตกันตินส์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยอาลาโกอัส บาเยีย เซอารา มารันเยา ปาราอีบา เปร์นัมบูกู ปีเอาอี รีโอกรันดีโดนอร์เต และเซร์ชิเป
ภาคกลางและตะวันตก ประกอบด้วยโกยาส มาตูโกรสซูโดซูล มาตูโกรสซู และเฟเดอรัลดิสตริกต์
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเอสปีรีตูซันตู มีนัสเชไรส์ รีโอเดจาเนโร และเซาเปาลู
ภาคใต้ ประกอบด้วยปารานา รีโอกรันดีโดซูล และซันตากาตารีนา

การแบ่งเขตการปกครอง
(รอเพิ่มเติมข้อมูล)



ภูมิศาสตร์
(รอเพิ่มเติมข้อมูล)



วัฒนธรรม
(รอเพิ่มเติมข้อมูล)


กลองสะบัดชัย

กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร

สยามกีฬารายวัน

สยามกีฬารายวัน เป็นหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวสาร เกาะติดสถานการณ์ข่าวกีฬา รายงานข่าวกีฬา ผลการแข่งขันกีฬา ที่มียอดจำหน่ายสูงสุด ฉบับปฐมฤกษ์ วางจำหน่าย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2528
คอลัมนิสต์ ที่มีชื่อเสียงในยุคแรกๆ คือ เอกชัย นพจินดา หรือ ย.โย่ง (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งทำหน้าที่อ่านข่าวกีฬาให้กับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในช่วงนั้นด้วย ปัจจุบัน คอลัมนิสต์หลายคนได้ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายกีฬา หรือผู้ประกาศข่าวกีฬา เช่น สาธิต กรีกุล, เอกราช เก่งทุกทาง, วีรศักดิ์ นิลกลัด, อดิสรณ์ พึ่งยา


Friday, May 25, 2007

ไทใหญ่

ชาวไทใหญ่ คือชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนประเทศไทยและประเทศพม่า คนไทยใหญ่ในประเทศพม่ามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทยใหญ่หลายแสนคนที่ได้อพยพไปประเทศไทยเพืี่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง ไต๊ หรือ ไต (ตามสำเนียนไทย) พี่น้องไต๊ในพม่ามีหลายกลุ่ม เช่นไต๊คืน ไต๊แลง ไต๊คัมตี ไต๊ลื้อ และไต๊เมา แต่กลุ่มใหญ่ที่สุ! ดคือ ไต๊โหลง ไต๊ = ไทย และ โหลง = หลวง = ใหญ่ ซึ่งคนไทยเรียก ไทยใหญ่ เหตุฉะนั้นจะเห็นได้ว่าภาษาไต๊และภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน


ยุคนารา


東大寺の大仏
}}
สมัยนารา (奈良時代 พ.ศ. 1253-พ.ศ. 1337) เป็นยุคสมัยหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เริ่มนับตั้งแต่ การสถาปนาเมืองหลวง เฮโจวเกียว (ปัจจุบันคือเมืองนารา) โดยจักรพรรดิเกงเม(元明天皇) เมื่อปี พ.ศ. 1253 (ก่อนยุคสุโขทัย 528 ปี) และสิ้นสุดลงเมื่อจักรพรรดิคังหมุ(桓武天皇) ย้ายเมืองหลวงไปเกียวโต และตั้งชื่อว่า นางะโอกะเกียว(長岡京) ในปี พ.ศ. 1337
สภาพสังคมของญี่ปุ่นในช่วงต้นของสมัยนี้ ยังเป็นชุมชุนเกษตรกรรม และหมู่บ้านขนาดเล็ก ซึ่งพวกเขานับถือลัทธิชินโต หรือภูตผี ธรรมชาติ แต่เมื่อศาสนาพุทธเข้ามา พวกเขาได้หันมานับถือศาสนาพุทธอย่างรวกเร็ว ถึงแม้ว่ายังคงมีความเชื่อดั่งเดิมอยู่

ยุคหิน
ยุคโจมง(縄文時代)
ยุคยะโอ(弥生時代)
ยุคโคะฮุง(古墳時代)
ยุคอะซึกะ(飛鳥時代)
ยุคนารา奈良時代
ยุคเฮอัง(平安時代)
ยุคคะมะกุระ(鎌倉時代)
ยุคมุโระมะจิ(室町時代)
ยุคเซงโงกุ(戦国時代)
ยุคอะซุจิโมโมะยะมะ(安土桃山時代)
ยุคเอโดะ(江戸時代)
ยุคเมจิ(明治時代)
ยุคไทโช(大正時代)
ยุคโชวะ(昭和時代)
ยุคเฮเซ(平成)

Thursday, May 24, 2007

ตุลาคม




สารบัญ

มหาธีร์ โมฮัมหมัด ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย หลังจากดำรงตำแหน่งมานานถึง 22 ปี

31 ตุลาคม 2546

โครงการอวกาศของจีน: สาธารณรัฐประชาชนจีนส่งยานเสินโจว 5 พร้อมนักบินอวกาศคนแรกของตนขึ้นสู่อวกาศ ยานเสินโจว 5 โคจรรอบโลก 14 รอบ โดยใช้เวลา 21 ชั่วโมง ก่อนกลับสู่พื้นโลก
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีรับรถไฟฟ้าขบวนแรกในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร โดยบริษัท ซีเมนส์ เอจี จำกัด จัดส่งมาทางเครื่องบินจากประเทศออสเตรีย ที่ท่าอากาศยานทหารกองทัพอากาศ

15 ตุลาคม 2546

ช่วงช่วงและหลินฮุ่ย แพนด้าซึ่งเป็นทูตสันถวไมตรีไทย-จีน เดินทางถึงสวนสัตว์เชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

12 ตุลาคม 2546

อทัล พิหารี วัชปายี นายกรัฐมนตรีอินเดียและคณะ เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 9-12 ตุลาคม 2546 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ

9 ตุลาคม 2546

เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 3 ของรัฐสภา เอกสารของคณะกรรมาธิการ อุปกรณ์สำนักงานและเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งได้รับความเสียหาย ห้องประชุมดังกล่าวใช้เป็นที่เก็บเอกสารคดีการเสียชีวิตของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (พรรคประชากรไทย)
นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะ แถลงผลการวิจัยบั้งไฟพญานาค ที่มักเกิดขึ้นในวันออกพรรษาบริเวณกลางแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ว่าทีมนักวิจัยสรุปว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

8 ตุลาคม 2546

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเวลา 6 วัน

5 ตุลาคม 2546

นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และ รองนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ปฏิเสธข่าวลือที่ว่าอาจมีขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ 6 ลูก ถูกนำมาใช้ก่อการร้ายในการประชุมเอเปคที่จะมีขึ้นในปลายเดือนตุลาคม

1 ตุลาคม 2546

พ.ศ. 2550 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
พ.ศ. 2549 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
พ.ศ. 2548 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
พ.ศ. 2547 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
พ.ศ. 2546 • มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
19-21 ตุลาคม – ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี ค.ศ. 2003
บอยแบนด์

บอยแบนด์ คือวงดนตรีแนวป็อปหรือฮิปฮอป ที่ประกอบด้วยคน 3 คนขึ้นไป หรือกลุ่มนักร้องชายล้วน เช่น เทค แดท, นิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก เป็นต้น สมาชิกแต่ละคนมีความสามารถในการร้อง การเต้น และร้องเพลงที่อยู่ในกระแสหลัก และมีการแต่งตัวที่นำกระแสแฟชั่น ส่วนใหญ่สมาชิกของวงจะมาจากการออดิชั่น โดยผู้จัดการวงหรือโปรดิวเซอร์เพลง พวกเขาอาจมีทักษะในการร้อง การเต้น �! ��ารแร็ป โดยส่วนมากสมาชิกจะอยู่ที่ 3 ถึง 6 คน
เมอริซ สตารร์ มักจะถูกยกเครดิตว่าเป็นคนเริ่มต้นในการปั้นวงบอยแบนด์ อย่างวงนิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก โดยสตารร์ได้เคยปั้นวงเด็กอย่างวงนิว อีดิชั่น (วงวัยรุ่นผิวสี) และได้ปรับมาลองกับกลุ่มนักร้องเพลงในแนวป็อป สูตรนี้ มีผู้จัดการวงในยุโรปได้นำมาใช้เช่น ไนเจล มาร์ติน สมิธ (Nigel Martin-Smith) และ หลุยส์ วอลช์ (Louis Walsh)
หากย้อนไปในอดีตในสมัยยุค 60-70 โปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ เบิร์ต ชไนเดอร์ (Bert Schneider) และ บ๊อบ ราเฟลสัน (Bob Rafelson) ได้สมาชิก 4 คนเพื่อแสดงทางรายการโทรทัศน์ เดอะ มังกีส์ ก็สามารถถูกจำกัดความว่าเป็นวงบอยแบนด์ในยุคแรกๆได้ วงเดอะ มังกีส์เริ่มก่อตั้งวงในปี 1965 และยุบวงไปในที่สุดในปี 1970 ต่อมาก็มีวงชายล้วนที่ได้รับความนิยมในยุค 60 อย่าง เดอะ บีทเทิลส์, เดอะ บีช บอยส์, บีจีส์! , เดอะ แจ็คสัน ไฟฟ์, ดิ ออสมอนด์ส เป็นต้น และในปี 1977 ก็มีการฟอร์มวงบอยแบนด์แนวละติน คือวง Menudo
ในช่วงต้นถึงปลายยุค 90 ซึ่งเป็นช่วงที่บอยแบนด์กำลังรุ่งเรือง ได้มีวงบอยแบนด์ประสบความสำเร็จหลายวงด้วยกัน เช่น เทค แดท, บอยโซน, แบ็คสตรีท บอยส์, เอ็นซิงค์ และ เวสท์ไลฟ์ ซึ่งทุกวันนี้บอยแบนด์เริ่มมีความคล้ายคลึงกับวงบอยแบนด์ในยุค 60 คือสมาชิกในวงสามารถเล่นดนตรี เขียนเพลง แต่งเพลงได้ เช่นวงบัสเต็ด และ แมคฟลาย เป็นต้น



บอยแบนด์ในประเทศไทย
ศิลปินบอยแบนด์นั้นมีอยู่คู่วงการเพลงไทยมาตั้งแต่เมื่อสิบกว่าปีก่อน แต่หากพิจารณาศิลปินบอยแบนด์จำนวนมากจากค่ายอาร์เอส และคีตา จะพบว่ามีความหลากหลายในรูปแบบมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ทั้งเสื้อผ้า ทรงผม ท่าเต้น แนวเพลง ไม่ว่าจะเป็นที่ออกแนวญี่ปุ่น อย่าง ลิฟท์กับออย, ฝันดี ฝันเด่น, แซน แบงค์ ที่เป็นสไตล์ฝรั่ง อย่าง แร็ฟเตอร์, เจอาร์ วอย หรือเป็นกล! ุ่มซึ่งเน้นการเต้นแบบแข็งแรงมากกว่าการยืนร้องหน้าใสใส่อารมณ์อย่างเดียว เช่น ไฮแจ๊ค, ดร.คิดส์, ยูโฟร์ และบอยแบนด์ลูกผสมที่ยังไม่ชัดว่าสังกัดอยู่ประเทศอะไร หรือพวกไหน เช่น บอยสเก๊าท์ เป็นต้น บอยแบนด์ปัจจุบันเช่น JKI ,จี-จูเนียร์ ,Nice 2 Meet You เป็นต้น



อ้างอิง


การกลับมาของ "บอยแบนด์" และ "ท่าเต้นรีวิวฯ" โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤษภาคม 2550 16:04 น.

แหล่งข้อมูลอื่น

Boy Band Phenomenon

Wednesday, May 23, 2007

ชนชาติฮั่น

ชนชาติฮั่น (Han) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสตศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย

มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิหวงตี้ (黄帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ชนชาติฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า

ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การทักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน

บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้

และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน. เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia).

ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลหยวนเซียว เช็งเม้ง เทศกาลไหว้พระจันทร์ (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น

ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น (ฮั่นอี่ว์) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น (ฮั่นจื้อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方话) ภาษากวางตุ้ง (粤语) ภาษาแคะ (客家话) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (闽南话) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (闽北话) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吴语) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘语) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (赣语)