Sunday, August 5, 2007

ปลาย่าดุก

ย่าดุก เป็นชื่อปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batrachomoeus trispinosus อยู่ในวงศ์ปลาคางคก (Batrachoididae) มีรูปร่างหัวโต ปากกว้าง มีติ่งเนื้อสั้น ๆ อยู่รอบมุมปาก ตาโต ครีบอกเป็นวงกลมและแผ่กางได้ ครีบหลังและครีบท้องยาวไปจรดหาง ครีบหางเป็นวงกลม ลำตัวอ่อนนุ่ม ไม่มีเกล็ด พื้นสีลำตัวสีน้ำตาลมีแถบดำเป็นลายเลอะพาดตล! อดทั้งตัว ขนาดโตได้เต็มที่ราว 30 ซ.ม.
พบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล มหาสมุทรแปซิฟิก และยังพบในปากแม่น้ำ หรือในเขตน้ำกร่อยในภาคตะวันออก และภาคใต้ มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่นิ่ง ๆ ตามพื้นน้ำเพื่อดักรอเหยื่อ โดยสีของลำตัวกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม สามารถกินปลาที่ใหญ่กว่าตัวได้ โดยปลาในวงศ์นี้จะมีพิษอยู่ที่เงี่ยงครีบหลังและครีบอก เมื่อถูกจับพ้นน้ำจะส่งเสียงร้องว่า " อุบ อุบ "
เป็นปลาที่เมื่อกินเบ็ดแล้ว กินลึกลงถึงในคอ ในบางพื้นที่มีการบริโภค โดยเนื้อนุ่ม มีรสชาติอร่อย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น " สิงโต " " อุบ " เป็นต้น