Tuesday, July 24, 2007



ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (2 มกราคม พ.ศ. 2455 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) เป็นภริยาของรัฐบุรุษอาวุโส นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ติดตามนายปรีดีในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ทั้งในยามที่นายปรีดีเรืองอำนาจ และเมื่อยามนายปรีดีประสบมรสุมทางการเมืองจนต้องลี้ภัยออกไปอาศัยอยู่ต่างประเทศ ท่านผู้หญิงพูนศุข เป็นแบบอย่างภริยานักการเมืองที่สมถะ ใช้ชีวิตเรียบง่าย เข้มแข็ง กล้า�! �าญ และให้อภัย ชั่วชีวิตของท่านผู้หญิงพูนศุข เป็นที่ประจักษ์ดีว่า ไม่ว่าจะทุกข์หรือสุข ต้องหลบหนีภัยต่างๆ ท่านผู้หญิงยังคงแข็งแกร่ง ยืนหยัดอยู่เคียงข้างคอยเป็นกำลังใจให้นายปรีดี มาโดยตลอด หรือแม้ในยามรุ่งเรือง ท่านผู้หญิงก็ไม่เคยอาศัยตำแหน่งของสามีหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง ยังดำรงชีวิตอย่างสมถะ และมีความสุขอย่างเรียบง่าย



สารบัญ
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 ที่ จ.สมุทรปราการ ในตระกูลขุนนางสกุล ณ ป้อมเพชร์ เป็นธิดาคนที่ 5 บิดาของท่าน คือมหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ มารดาคือ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิต (สกุลเดิมสุวรรณศร) จบการศึกษาชั้นมัธยม 7 จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์



ชีวิตก่อนสมรส
ท่านผู้หญิงพูนศุข สมรสกับ นายปรีดี พนมยงค์ ญาติฝ่ายบิดา ดุษฎีบันฑิตหนุ่มทางกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุมากกว่า 11 ปีเมื่อปี พ.ศ. 2472 ขณะมีอายุได้ 17 ปี และยังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยม 7 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ หลังจากสมรสได้เพียง 3 ปี ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยนายปรีดี ผู้เป็นสามีเป็นหนึ่! งในผู้ก่อการร่วมด้วย ด้วยเหตุที่เป็นภริยาของผู้ที่เคยเป็นผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเคยเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 หัวหน้าขบวนการเสรีไทย รัฐบุรุษอาวุโส ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุข เข้าไปอยู่ในหลายเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์การเมืองไทยโดยปริยาย ถูกกลั่นแ�! �ล้ง จนต้องระหกระเหินและ� �ผชิญชะตากรรมไม่ต่างไปจากสามี


�
สมรส
เมื่อเกิดการรัฐประหารในคืนวันที่ 8 พ.ย. 2490 คณะรัฐประหารได้นำรถถังบุกยิงถล่มใส่ในบ้านทำเนียบท่าช้าง เพื่อที่จะกำจัดนายปรีดี แต่นายปรีดีได้หลบหนีลงเรือไปก่อนที่คณะรัฐประหารจะบุกเข้ามา และเป็นโชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุขต้องดูแลลูกๆ เพียงลำพัง โดยต้องรับหน้าที่เป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกัน เพราะ�! �ามีต้องหนีภัยการเมืองไปต่างประเทศ
เมื่อตามจับนายปรีดีไม่ได้ คณะรัฐบาลในขณะนั้นก็หันมาจับท่านผู้หญิงพูนศุข และนายปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตแทน เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2495 ด้วยข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ต้องถูกควบคุมตัวในสถานที่กักกันเป็นเวลานาน 84 วัน นับเป็นการประสบกับมรสุมทางการเมืองครั้งร้ายแรง ท้ายที่สุดภายหลังอัยการสั่งไม่ฟ้องเอาผิด เพราะไม่มีหลักฐาน ก็ได้รับการปล่อยตัว



เผชิญมรสุมทางการเมือง
หลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว ท่านผู้หญิงพูนศุขได้ตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและสวีเดน กระทั่งได้รับข่าวสารจากสามี ก่อนจะตามไปอยู่ด้วยกันที่ประเทศจีน หลังจากที่ต้องพลัดพรากจากกันนานถึง 5 ปี และอยู่ร่วมกันที่กรุงปักกิ่งเป็นเวลา 16 ปี จึงได้ย้ายไปอยู่บ้านพักหลังเล็กๆ ที่ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จวบจนกระทั่งนายปรีดี ถึ�! ��แก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2530 ท่านผู้หญิงพูนศุขจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการถาวร


พูนศุข
พบกับรัฐบุรุษอาวุโสอีกครั้ง
ท่านผู้หญิงพูนศุขถึงแก่อนิจกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา 02:04 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากได้เข้ารักษาอาการทางโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม สิริอายุ 95 ปี 4 เดือน มีบุตรและธิดารวมทั้งสิ้น 6 คน
การจัดพิธีไว้อาลัยเป็นไปตามคำสั่งเสียทุกประการ ซึ่งท่านผู้หญิงพูนศุข ได้เขียน "คำสั่ง" กำชับ ด้วยลายมือตนเอง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2541 ขณะมีอายุ 86 ปี 9 เดือน ทั้งสิ้น 10 ข้อ



อนิจกรรม
เมื่อแม่สิ้นชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้


นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแล้ว
ไม่ขอรับเกียรติใดๆ ทั้งสิ้น
ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจ้งข่าวให้ญาติมิตรทราบ
ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องมาร่วมงาน
มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือแสดงธรรมกถา (เช่นเดียวกับที่จัดให้ปาล) และทำบัตรสำหรับหนังสือที่ระลึก
ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือเงินช่วยทำบุญ
เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย
ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่ปากนํ้าเจ้าพระยาซึ่งเป็นสถานที่แม่เกิด
หากมีเงินบ้างก็ขอให้บริจาคเป็นทานแก่มูลนิธิต่างๆ ที่ทำสาธารณกุศล
ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นผู้หวังดีทั้งหลาย ลูกๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งแม่ จงมีความสุข ความเจริญ



นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแล้ว
ไม่ขอรับเกียรติใดๆ ทั้งสิ้น
ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจ้งข่าวให้ญาติมิตรทราบ
ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องมาร่วมงาน
มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือแสดงธรรมกถา (เช่นเดียวกับที่จัดให้ปาล) และทำบัตรสำหรับหนังสือที่ระลึก
ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือเงินช่วยทำบุญ
เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย
ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่ปากนํ้าเจ้าพระยาซึ่งเป็นสถานที่แม่เกิด
หากมีเงินบ้างก็ขอให้บริจาคเป็นทานแก่มูลนิธิต่างๆ ที่ทำสาธารณกุศล
ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นผู้หวังดีทั้งหลาย ลูกๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งแม่ จงมีความสุข ความเจริญ